ตลอดช่วงชีวิตคนเรา มันมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปครับ
ทำให้ความรู้สึกต่างๆต่อมิตรสหายแตกต่างกันไปครับ
+ วัยเรียน (ประถม มัธยม) เพื่อนเรียน เล่นกีฬา ทำการบ้านด้วยกัน
เริ่มเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตด้วยกัน แต่โดยมากก็มีข้อจำกัดที่ต้องยึดติดกับผู้ปกครองอยู่
+ วัยมหาลัย สนุกสุดๆ สำมะเลเทเมาได้เพียบ อิสระเสรี มีแฟนได้ก็ช่วงนี้
มิตรสหายก็ไปไหนไปกัน เที่ยวด้วยกัน สนิทกันมากครับ
+ วัยเริ่มทำงาน ก็ยังสนุกกันอยู่ เริ่มมีเงินเที่ยวบ้าง
มิตรสหายก็จากมหาลัยที่ยังไปมาหาสู่กัน
สักพักก็จะเริ่มห่างหายกันไป เพราะมีแฟนกัน
+ วัยแต่งงาน ก็เริ่มห่างเหินจากเพื่อนๆ เพราะต้องเริ่มสร้างครอบครัว
ยังพอมีเพื่อนอยู่บ้าง แต่ก็ต้องรู้จักเพื่อนของคู่ชีวิตเพิ่ม
ความสนิทสนมเริ่มน้อยลง เพราะต้องให้เวลากับคู่ชีวิต
+ วัยลูกเล็ก อันนี้หมดสภาพการเที่ยวแล้วครับ
เพื่อนก็เริ่มห่างหาย เพราะเราไม่สะดวกในการไปเที่ยวด้วย
+ วัยลูกโตขึ้น เพื่อนใหม่เริ่มเข้ามาจากพ่อๆแม่ๆของเพื่อนลูก
ส่วนใหญ่ก็คุยกันเรื่องลูก ถามปัญหา แล้วก็ช่วยๆกันครับ
+ วัยลูกเติบโต อันนี้ก็มัวแต่ปวดหัวเรื่องลูกในวัยรุ่นครับ
แล้วก็การทำงานที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เวลาให้เพื่อนแทบจะไม่มีแล้วครับ
อย่างเก่งก็ไปกินข้าว คุยรำลึกความหลังกันแป๊บๆ
ไอ้แบบจะเที่ยวหัวหกก้นขวิดก็คงไม่มีแล้ว
+ วัยเกษียณ... อ่ะอันนี้จริงๆแล้ว เริ่มจะได้เพื่อนกลับมาแล้วครับ
เพราะต่างคนต่างก็หมดภาระการทำงาน เริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น
หลายคนจะเริ่มออกเที่ยวกันอีก ก็เพราะเริ่มอยู่ว่างๆกันแล้ว
แต่เพื่อนๆก็จะเริ่มลดๆลงเรื่อยๆ เพราะหมดสภาพกันไปแล้วครับ
สรุปแล้ว เพื่อนๆก็มีลดๆเพิ่มๆเรื่อยๆครับตามสภาพการณ์ของชีวิต
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ...
อย่าหยุดที่จะรู้จักคนใหม่ๆ ไม่ว่าจะต่างวัยกันแค่ไหน
คนทุกคนมีสิ่งใหม่ๆ ให้เราเรียนรู้เสมอ
อย่าไปคิดว่าต้องความสุขแบบเดิมๆเท่านั้น จึงจะเรียกว่าสุข
เราเรียนรู้แล้วก็สร้างความสุขแบบใหม่ๆได้เสมอครับ
อ้างอิงจาก pantip.com/family
Sunday, October 20, 2013
Sunday, October 06, 2013
Friday, September 27, 2013
KASUMI and MISTY1
KASUMI คือบล็อกเข้ารหัสด้วยคีย์รหัสขนาด 128-bit และ 64-bit สำหรับใช้ในระบบการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งเครือข่ายแบบ UTMS,GSM และ GPRS พัฒนาโดย 3GPP
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ UTMS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลจำนวน 2 อัลกอริทึมส์คือ UEA1 และ UIA1
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GSM จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ A5/3 Key Stream Generator
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GPRS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ GEA3 Key Stream Generator
การทำ code breaking ของ KASUMI ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ.2001 โดยนาย Kuhn โดยใช้เทคนิคชื่อว่า Impossible Differential Attack จากนั้นในปี ค.ศ.2003 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Elad Barkan, Eli Bilham, และ Nathan Keller ได้สาธิตการเจาะระบบ GSM แบบ Man-In-The-Middle Attacks ที่ไม่ได้ใช้ A5/3 cipher และได้เขียนบทความของเรื่องนี้ในปี ค.ศ.2006
ในปี ค.ศ.2005 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller ได้เผยแพร่การเจาะระบบบล็อกเข้ารหัส KASUMI แบบ Related-Key Rectangle (Boomerang) Attacks ซึ่งสามารถ code breaking ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ.2010 นักวิจัยทั้ง 3 คน (Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller) ได้เผยแพร่การเจาะระบบแบบใหม่สำหรับเจาะการเข้ารหัสคีย์ A5/3 cipher โดยใช้เทคนิค Related-Key Attack โดยนักวิจัยเหล่านั้นต้องการแสดงให้เห็นว่าการรับประกันความปลอดภัยข้อมูลของ 3GPP โดยใช้ KASUMI ซึ่งพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (Mitsubishi Improved Security Technology) นั้นไม่มีผลอย่างมีนัยะสำคัญ
สำหรับบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (RFC2994) ได้ร้บการวิจัยและพัฒนาในปี ค.ศ.1995 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคือ นาย Matsui Mitsuru, Ichikawa Tetsuya, Sorimachi Toru, Tokita Toshio และ Yamagishi Atsuhiro แต่วิธีการเจาะรหัสคีย์ KASUMI ของนักวิจัยประเทศอิสราเอลทั้ง 3 คน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับบล็อกเข้ารหัส MISTY1
ที่มา:
KASUMI http://en.wikipedia.org/wiki/KASUMI
MISTY1 http://en.wikipedia.org/wiki/MISTY1
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ UTMS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลจำนวน 2 อัลกอริทึมส์คือ UEA1 และ UIA1
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GSM จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ A5/3 Key Stream Generator
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GPRS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ GEA3 Key Stream Generator
การทำ code breaking ของ KASUMI ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ.2001 โดยนาย Kuhn โดยใช้เทคนิคชื่อว่า Impossible Differential Attack จากนั้นในปี ค.ศ.2003 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Elad Barkan, Eli Bilham, และ Nathan Keller ได้สาธิตการเจาะระบบ GSM แบบ Man-In-The-Middle Attacks ที่ไม่ได้ใช้ A5/3 cipher และได้เขียนบทความของเรื่องนี้ในปี ค.ศ.2006
ในปี ค.ศ.2005 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller ได้เผยแพร่การเจาะระบบบล็อกเข้ารหัส KASUMI แบบ Related-Key Rectangle (Boomerang) Attacks ซึ่งสามารถ code breaking ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ.2010 นักวิจัยทั้ง 3 คน (Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller) ได้เผยแพร่การเจาะระบบแบบใหม่สำหรับเจาะการเข้ารหัสคีย์ A5/3 cipher โดยใช้เทคนิค Related-Key Attack โดยนักวิจัยเหล่านั้นต้องการแสดงให้เห็นว่าการรับประกันความปลอดภัยข้อมูลของ 3GPP โดยใช้ KASUMI ซึ่งพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (Mitsubishi Improved Security Technology) นั้นไม่มีผลอย่างมีนัยะสำคัญ
สำหรับบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (RFC2994) ได้ร้บการวิจัยและพัฒนาในปี ค.ศ.1995 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคือ นาย Matsui Mitsuru, Ichikawa Tetsuya, Sorimachi Toru, Tokita Toshio และ Yamagishi Atsuhiro แต่วิธีการเจาะรหัสคีย์ KASUMI ของนักวิจัยประเทศอิสราเอลทั้ง 3 คน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับบล็อกเข้ารหัส MISTY1
ที่มา:
KASUMI http://en.wikipedia.org/wiki/KASUMI
MISTY1 http://en.wikipedia.org/wiki/MISTY1
Thursday, September 26, 2013
พระกริ่งพุทธนิมิต ฉลองสมศักดิ์ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรฯ
พระกริ่งพุทธนิมิต ฉลองสมศักดิ์ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร (๕ ธ.ค. ๕๒)
เนื้อทองคำ (สร้าง ๑๒ องค์)
เนื้อกะไหล่ทอง (สร้างประมาณ ๒๘๓๐ องค์...แจกในพิธี ๕ ธ.ค.๕๒) องค์ที่ ๑-๔
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) (นามเดิม: จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวันรัต ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
ประวัติ
สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2479 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ บ้านเกาะเกตุ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์และนางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์ ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด จากนั้น ได้เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2491 ณ วัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โดยมี พระวินัยบัณฑิต เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2499 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตโต) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตตโร) วัดคิรีวิหาร จ.ตราด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธัมมสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้ประโยคเปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 สมเด็จพระวันรัต ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
รวมทั้งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วันที่ 9 เมษายน 2555 สมเด็จพระวันรัต ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงอีกวาระหนึ่ง
ส่วนภาระหน้าที่พิเศษ ยากที่จะหาผู้ใดทำหน้าที่นี้ได้ในยุคปัจจุบัน คือ การที่ได้รับมอบหมายจากเถรสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติของไทย) และให้ความเห็น ก่อนที่จะประกาศใช้ ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเดินหมุดและคำนวณปฏิทินปักขคณนาสำหรับวันลงอุโบสถให้กับคณะสงฆ์ธรรมยุตด้วย
เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2479
อุปสมบท 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499
พรรษา 57
อายุ 76
วัด วัดบวรนิเวศวิหาร
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด ธรรมยุตินิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย,แม่กองธรรมสนามหลวง,กรรมการมหาเถรสมาคม
ที่มา wikipedia
Credit ภาพ: พระกริ่งพุทธนิมิต ฉลองสมศักดิ์ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรฯ, กระรันตีพระ.คอม
เนื้อทองคำ (สร้าง ๑๒ องค์)
เนื้อนวะโลหะ (สร้าง ๓๐๐ องค์) องค์ที่ ๑-๘
เนื้อกะไหล่ทอง (สร้างประมาณ ๒๘๓๐ องค์...แจกในพิธี ๕ ธ.ค.๕๒) องค์ที่ ๑-๔
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) (นามเดิม: จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระวันรัต ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
ประวัติ
สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2479 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ณ บ้านเกาะเกตุ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์และนางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์ ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด จากนั้น ได้เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2491 ณ วัดคิรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โดยมี พระวินัยบัณฑิต เป็นพระอุปัชฌาย์ กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2499 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตโต) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตตโร) วัดคิรีวิหาร จ.ตราด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธัมมสาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้ประโยคเปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 สมเด็จพระวันรัต ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
รวมทั้งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วันที่ 9 เมษายน 2555 สมเด็จพระวันรัต ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงอีกวาระหนึ่ง
ส่วนภาระหน้าที่พิเศษ ยากที่จะหาผู้ใดทำหน้าที่นี้ได้ในยุคปัจจุบัน คือ การที่ได้รับมอบหมายจากเถรสมาคมเป็นผู้ตรวจสอบการคำนวณปฏิทินหลวง (ปฏิทินจันทรคติของไทย) และให้ความเห็น ก่อนที่จะประกาศใช้ ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเดินหมุดและคำนวณปฏิทินปักขคณนาสำหรับวันลงอุโบสถให้กับคณะสงฆ์ธรรมยุตด้วย
เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2479
อุปสมบท 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499
พรรษา 57
อายุ 76
วัด วัดบวรนิเวศวิหาร
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด ธรรมยุตินิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย,แม่กองธรรมสนามหลวง,กรรมการมหาเถรสมาคม
ที่มา wikipedia
Credit ภาพ: พระกริ่งพุทธนิมิต ฉลองสมศักดิ์ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรฯ, กระรันตีพระ.คอม
Subscribe to:
Posts (Atom)