Saturday, February 13, 2010

สหรัฐจัดการเรื่องแผนการเพิ่มขีดความสามารถทางความมั่นคงในโลกของคอมพิวเตอร์ (Cybersecurity)

ในวันนี้ เศรษฐกิจของสหรัฐ ต้องพึ่งพาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และระบบต่างๆของรัฐและเอกชน ได้รับการคุกคาม โจมตีจริงๆกันอย่างต่อเนื่อง แม้ระบบข้อมูลของคนที่เป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองของท่านเองก็ถูกโจมตี แอบดักข้อมูล ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนี้ อาจจะทำให้เกิดปัญหาแก่ประเทศได้ ในปีที่ผ่านมา การรบกันระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย ก็พบว่ามีทั้งในสนามรบและในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมๆกัน เหตุการณ์เช่นนั้น เป็นได้ชัดว่าการรบทางคอมพิวเตอร์ สามารถทำให้ไฟฟ้าดับได้ และทำให้กิจกรรมทางธุรกิจหยุดชะงักได้

จำเป็นที่ประเทศสหรัฐต้องจัดการเรื่องแผนการเพิ่มขีดความสามารถทางความมั่นคงในโลกของคอมพิวเตอร์ (Cybersecurity) และทำการศึกษาวิจัยให้มีความก้าวหน้าที่สุดในโลก เพื่อนำไปสู่การคุ้มครองประเทศ และเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

มีรายงานชื่อ Cyberspace Policy Review ขนาด ๗๖ หน้า ออกมาประกอบการประกาศของประธานาธิบดี ในรายงานนี้ ได้มีการเสนอให้มีผู้ประสานงานกลางระดับประเทศ และการเสนอแนะให้รัฐบาลสหรัฐ ดำเนินการรณรงค์เรื่องความมั่นคงปลอดภัยในโลกแห่งคอมพิวเตอร์ในวงกว้าง ให้ภาครัฐร่วมมือกับเอกชนในการสนองตอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการมีมาตรการต่างๆเพื่อปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยในโลกคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้น

“การปกป้องโลกคอมพิวเตอร์ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ และภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง และต้องมีความเปลี่ยนแปลงในนโยบาย เทคโนโลยี การศึกษา และ กฎหมาย และในรายงานนี้ เราจะเห็นว่ามีเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันทำงานในกิจกรรมยากๆหลายด้าน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต้องเริ่มต้นที่การพูดจากันในเรื่องนี้ โดยทุกคนเริ่มได้ที่ครอบครับ เพื่อน และผู้ร่วมงาน” เมลิสซา ฮัททะเว หัวหน้าความมั่นคงปลอดภัยในโลกคอมพิวเตอร์อธิบายเกี่ยวกับรายงานนี้

คงพอจะนึกภาพออก ว่าหากเพ็นตากอน (กองทัพสหรัฐ) CIA (สำนักงานข่าวกรองกลาง) และ NSA (สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ) ดำเนินการตามแผนนี้ จะมีเงินมาสนับสนุนธุรกิจไอซีทีของสหรัฐมากมายขนาดไหน และแต่ละบริษัทเขาจะทำอะไรกันบ้าง น่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาช่วยให้อินเทอร์เน็ตแข็งแรงขึ้นกว่านี้ แต่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าซอฟต์แวร์วินโดวส์รุ่นหน้า ซอฟต์แวร์ในอุปกรณ์สื่อสาร และเราเตอร์ต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบรับส่งสัญญาณสื่อสารต่างๆ มันจะมีอะไรของรัฐบาลสหรัฐแถม (หรือซ่อนตัว)มาบ้าง หากประเทศของเรา ซื้อสินค้าของเขามาใช้ โดยปราศจากความสามารถในการวิเคราะห์ความมั่นคงเลย เราจะอยู่ในฐานะใด เมื่อเกิดสงครามระหว่างค่ายจีน สหรัฐ อิสราเอล ยุโรป ใครจะคุมตู้อุปกรณ์ของใคร?

ท่านที่สนใจเรื่องเหล่านี้ และผลกระทบจากประเทศไทย (ในฐานะที่เรามีอุปกรณ์ของจีนมากพอๆกับอุปกรณ์ของมะกัน หากเกิด Cyber War กันระหว่างยักษ์ใหญ่ เราจะโดนอะไรบ้าง ระหว่างนี้ เราควรเตรียมตัวของเราอย่างไรดี

เรื่องนี้ เราควรจะเรียนโดยการสังเกตปฏิกิริยาที่ออกมาจากประเทศในยุโรปและจีน ว่าเขาเตรียมการป้องกันตัวเองอย่างไรบ้าง มีอะไรบ้างที่เขาทำตามสหรัฐ และมีอะไรบ้างที่เขาต้องทำเองภายในประเทศ ที่แน่นอนก็คือ ผมเชื่อว่าการหันมาใช้โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์น่าจะมีเพิ่มขึ้นแน่นอน

หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ลงข่าวเรื่องนี้ในเชิงลึก พร้อมกับลุ้นว่า คนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าทีมประสานงานกลาง น่าจะเป็น เมลิสซา ฮัททะเว หรือไม่ก็ รอด เบ็คสตอร์ม จากบริษัทในซิลิกอน แวลเล่

ข่าวหลายข่าวที่เพิ่งผ่านมา มีความสัมพันธ์กันมาก หากสังเกตให้ดี ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน มี ข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้บริหารของ Google ชื่อ แอนดรู แมคลัฟลิน หัวหน้าทีมนโยบายสาธารณะโลกของ Google ได้ลาออกจากบริษัท เพื่อไปทำงานกับโอบาม่าในฐานะรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางเทคโนโลยี (chief technology officer) รายงานตรงกับนายอะนีช โชพรา หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางเทคโนโลยี นายแอนดรู แมคลัฟลินทำงานกับ Google มา ๕ ปี โดยก่อนหน้านั้น เขาทำงานกับ ICANN องค์กรที่กำกับดูแลการทำงานและนโยบายอินเทอร์เน็ตระดับโลก และเป็น emeritus fellow ที่ Berkman Center for Internet and Society แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กับทั้งเป็นทีมงานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและการปฎิรูประบบรัฐบาลของโอบาม่าในช่วงการเตรียมรับตำแหน่งประธานาธิบดี

คนของ Google ที่เข้าไปช่วยทำเนียบขาวยังมีอีก เช่น เคที่ สแตนทัน เคยเป็นนักบริหารโครงการของกูเกิล เข้าไปทำงานเป็น ผู้อำนวยการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และโซนาล ชาห์ ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าการพัฒนาระดับโลกที่ Google.org บัดนี้ก็กลายเป็น หัวหน้าสำนักงานการนวัตกรรมเชิงสังคมของทำเนียบขาว อ่านข่าว

ความเคลื่อนไหวของแอนดรู แมคึลัฟลิน สร้างความกังวลให้กับบริษัทต่างๆไม่ใช่น้อย เพราะสิ่งนี้แสดงว่ากูเกิล ทำท่าจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในนครวอชิงตันดีซี เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา

หากจะถามทุกท่านว่า ในโลกนี้ บริษัทใด มีข้อมูลความเคลือนไหวของชาวเน็ตทั่วโลกมากที่สุด และเป็นทีต้องการของกระทรวงกลาโหมและสภาความมั่นคงของสหรัฐมากที่สุด ท่านคิดว่าเป็นบริษัทใด ทำไม

ที่มา ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
Click

ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non-traditional threat)

หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายยาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (911) ได้เกิดขึ้น และมีการขยายผลไปทั่วโลก อีกทั้งโลกได้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่ง (Logistic) เช่น การขนส่งทางอากาศ ทางทะเล และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เป็นผลให้โลกเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ ข้อมูลข่าวสารสามารถกระจายส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกวิ่งเข้าสู่ยุค “โลกาภิวัตร (Globalization)” จึงทำให้ภัยคุกคามของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างถอนรากถอนโคน (Radical change) โดยมิใช่ภัยคุกคามที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้กำลังทางทหารเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นภัยคุกคามที่เราเรียกว่า “ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non-traditional threat)” ซึ่งต้องใช้การบูรณาการทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด อีกทั้งต้องมีความร่วมมือระดับนานาชาติกับมิตรประเทศ จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้


ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non-traditional threat)

จากผลการสัมนาเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ International Workshop Seminar of Non-Traditional Security Challenges in ASEAN จัดโดยกองบัญชาการกองทัพไทยระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2551 ได้สรุปว่ามี 5 ภัยคุกคาม ซึ่งเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ท้าทายและอยู่ในระดับขั้นวิกฤตของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) คือ
(1) ภัยคุกคามจากโรคติดต่อ (Infectious Diseases and Pandemics)
(2) ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ปัญหาความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติ (Climate Change, Environment Security and Natural Disasters)
(3) ภัยคุกคามจากความขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและการแย่งชิงทรัพยากร (Natural Resources Scarcity and Competition)
(4) ภัยคุกคามด้านความมั่นคงด้านพลังงานและความมั่นคงของมนุษย์ (Energy and Human Security)
(5) ภัยคุกคามจากผลกระทบของโลกาภิวัตร (Impact of Globalization)

สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีแนวโน้มที่ชัดเจนในด้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่เช่นกัน โดยที่แนวโน้มของภัยคุกคามดังกล่าวในปัจจุบันและอนาคตจะมีความซับซ้อนมากขึ้นในพื้นที่ตามแนวชายแดน และพื้นที่ที่เป็นชายฝั่งทะเล ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยงานความมั่นคงไม่สามารถวางกำลังในพื้นที่ดังกล่าวได้ทุกจุด เนื่องจากมีระยะทางที่ยาวไกลมาก และหากมองย้อนไปในอดีตปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่วิกฤตมากนัก เนื่องจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงในอดีตตามแนวชายแดนเป็นปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อนมากดังเช่นทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามได้เปลี่ยนไปมาก เนื่องจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่เป็นภัยคุกคามที่มีความเกี่ยวพันธ์กับหลายประเทศ เช่น แรงงานต่างด้าว โรคติดต่อจากการเดินทางข้ามเขตแดน การขนยาเสพติดข้ามเขตแดน การขนสินค้าหนีภาษีข้ามเขตแดน การค้ามนุษย์ การหนีข้ามเขตแดนเพื่อก่อความไม่สงบ และการก่อการร้ายสากล เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทั้งสิ้น

ที่มา พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Cyber Security Conference 2010


Washington, D.C. - March 23- 24, 2010

CYBER SECURITY CONFERENCE:
— EMERGING STRATEGIES, CHALLENGES, NEEDS & TECHNOLOGIES —


Last year, DoD networks suffered an onslaught of an estimated 360 million cyber attacks. As cyber attacks on US federal and commercial computer systems increase at alarming rates, the risk for national security to be compromised is also growing. Through cyber espionage and data theft, China acquired Joint Strike Fighter (JSF-35) aircraft plans. On eBay, a hard drive containing US missile defense data was for sale. Both the State of Virginia and the University of California, Berkley suffered network and database breaches to their healthcare IT systems. Critical infrastructure is being hit by an estimated 1000 or more attacks from hackers and malicious code every year. The financial and economic impacts of a one day cyber sabotage to disrupt energy infrastructure and US financial transactions is estimated at over $35 billion USD.

The 2010 national cyber budget will be in the excess of $7 billion USD, but is that enough? Given our ever-increasing reliance on digital connectivity, and with the reality of intensifying cyber threats from states such as China and Russia, it is a national imperative that the US directly engages these threats in order to avert potential catastrophe.

This exceptional conference brings together senior level military, government and industry experts in cyber security and computer network defense to examine such questions as:


•What are the latest DoD and Government cyber security plans, initiatives, and strategies?


•What is the road ahead for National Cyber Policy and Standards?


•What is the best course of action for mitigating the current array of cyber threats?


•What is being done to protect critical infrastructure from cyber and other related threats?


from Technology Training Corporation TTC

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ปิดฉากชีวิต"ชาร์ลี วิลสัน"ผู้ฝึกนักรบตาลีบันไล่อดีตสหภาพโซเวียต


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา นายชาร์ลี วิลสัน อดีต ส.ส.12 สมัยรัฐเท็กซัส สมาชิกพรรคเดโมแครต เสียชีวิตแล้ว ด้วยอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ด้วยวัย 76 ปี หลังบ่นว่า เจ็บหน้าอกและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองลุฟกิน ฝั่งตะวันออกของรัฐเท็กซัสได้ไม่นาน


ทั้งนี้ นายวิลสัน ได้รับฉายาว่า "เสรีภาพจากลุฟกิน" พ่วงด้วยเสือผู้หญิงติดเหล้า เคยเข้าไปนั่งในสภาคองเกรสช่วยโยกงบประมาณหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังเข้าร่วมปฎิบัติการฝึกซ้อมกลุ่มนักรบตาลีบันเพื่อขับไล่อดีตสหภาพโซเวียตที่บุกยึดครองอัฟกานิสถาน จนฮอลลีวูดนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "ชาร์ลี วิลสัน’ส วอร์" (คนกล้าแผนการณ์พลิกโลก) นำแสดงโดยทอม แฮงค์ และ จูเลีย โรเบิร์ต