Tuesday, February 09, 2010

Cyber warfare เริ่มต้นเมื่อไร

1.ในวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม ปี 2007 ประเทศเอสโทเนีย ถูกโจมตีด้วยไซเบอร์อย่างหนักโดยเฉพาะรัฐสภา กระทรวง ทบวง กรม ธนาคาร และสื่อสารมวลชนต่าง ๆ จนข้อมูลเสียหายพังยับเยิน

2.เมื่อต้นเดือนกันยายน ปี 2007 ตึกเพนทากอน กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา และที่ทำการรัฐบาลของฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ถูกโจมตีด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่รัฐบาลจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา

3.ช่วงที่รัสเซียบุกเข้าประเทศจอร์เจียตอนใต้ ประเทศจอร์เจียถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างหนักอย่างเปิดเผยทั่วทั้งประเทศ

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลดาต้าไมนิ่ง (Data Mining)


Septier Information Explorer

Septier solutions are built to collect massive amounts of raw data and information.

The data is stored in dedicated fast performing storage devices utilizing hundreds of terabytes per system.

Collected information may include CDRs, IPDRs, Location updates, SMS etc. By utilizing pre-programmed reports and analytical tools it is possible to perform nontrivial extraction of implicit, previously unknown, and potentially useful information from the collected data.
Our Data mining solutions involve sorting through large amounts of data and picking out relevant information.

From Septier

Monday, February 08, 2010

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (Open Source Software)

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย[2] ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มา ใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, ลินุกซ์, อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
นิยาม

ปัจจุบันมีการกำหนดโดยกลุ่มผู้กำหนดโอเพนซอร์ซที่วางข้อกำหนดคำนิยาม 10 ประการในการกำหนดว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโอเพนซอร์ซ[4][5] คือ

1.เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใดในการจำหน่ายหรือการจ่ายแจก ซอฟต์แวร์ให้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์แบบแยกส่วนที่ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์จากหลาหลายแหล่ง และจะต้องไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ที่เกี่ยวกันกับค่าใช้สิทธิหรือค่าสิทธิใด ๆ ในการจำหน่ายซอฟต์แวร์นั้น กล่าวคือให้มีการจ่ายแจกได้อย่างไม่มีการคิดค่าตอบแทน
2.โปรแกรมนั้นจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (ซอร์สโค้ด) และจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับได้เช่นเดียวกันกับโปรแกรมที่ อยู่ในรูปของการแปลงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว โดยหากแม้ไม่สามารถนำสินค้านั้นแจกจ่ายได้พร้อมโปรแกรมต้นฉบับ ก็จำต้องมีสถานที่ในการแจกจ่ายแบบสาธารณะ เพื่อให้สามารถเข้าถึงโปรแกรมต้นฉบับ ซอร์สโค้ดได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอื่นใด ทั้งนี้โปรแกรมต้นฉบับนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบที่นักโปรแกรมสามารถที่จะแก้ไข ได้โดยจำต้องปราศจากซึ่งการเขียนโปรแกรมต้นฉบับในลักษณะที่เป็นการสับสนโดย เจตนา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะของโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมต้นฉบับที่จำต้องมี ตัวแปลภาษาเฉพาะ (translator) หรือมีส่วนที่ต้องนำเข้าสู่โปรแกรมในรูปแบบของโปรแกรมที่แปลงสภาพแล้ว (preprocessor)
3.เงื่อนไขจะต้องยินยอมให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแจกเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของโปรแกรมฉบับเริ่มต้น
4.เงื่อนไขอาจจะวางข้อกำหนดในการจำกัดเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ ฉบับที่แก้ไขแล้วได้ต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้ยินยอมให้มีการแจกจ่ายแพตช์ไฟล์ (patch file) พร้อมโปรแกรมต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโปรแกรมนั้นในเวลาทำการสร้าง โปรแกรม ทั้งเงื่อนไขจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมนั้นที่ได้รับการแก้ไข โปรแกรมต้นฉบับได้ แต่เงื่อนไขนั้นอาจจะกำหนดให้โปรแกรมฉบับต่อยอดใช้ชื่อที่แตกต่างหรือใช้ รุ่นที่แตกต่างจากโปรแกรมฉบับเริ่มต้นก็ได้
5.เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ
6.เงื่อนไขต้องไม่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอันเป็นการเฉพาะ
7.เงื่อนไขที่กำหนดจะต้องใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น
8.สิทธิใด ๆ ของโปรแกรมนั้นจะต้องไม่มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงกับสินค้าหนึ่งสินค้าใด
9.เงื่อนไขต้องไม่กำหนดอันเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้ร่วมกันกับโปรแกรม อื่น เช่นกำหนดให้ต้องใช้โปรแกรมดังกล่าวกับโปรแกรมแบบโอเพนซอร์ซเท่านั้น
10.ต้องไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ในเงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีของใครหรือเทคโนโลยีแบบใดเป็นการเฉพาะ

ที่มา: OpenOffice.org in NSTDA

Sunday, February 07, 2010

พันธมิตรนอกนาโต (MNNA)

พันธมิตรนอกนาโต (อังกฤษ: Major non-NATO ally อักษรย่อ MNNA) เป็นคำที่สหรัฐอเมริกาใช้เรียกประเทศพันธมิตรที่ไม่ได้อยู่ในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต)

สหรัฐอเมริกาแต่งตั้งให้ไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศพันธมิตรนอกนาโต อย่างเป็นทางการ เมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546

รายชื่อประเทศพันธมิตรนอกนาโต

ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. 2532)
ประเทศอียิปต์ (พ.ศ. 2532)
ประเทศอิสราเอล (พ.ศ. 2532)
ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2532)
ประเทศเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2532)
ประเทศจอร์แดน (พ.ศ. 2539)
ประเทศนิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2539)
ประเทศอาร์เจนตินา (พ.ศ. 2541)
ประเทศบาห์เรน (พ.ศ. 2545)
ประเทศฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2546)
ประเทศไทย (พ.ศ. 2546)
ประเทศคูเวต (พ.ศ. 2547)
ประเทศโมร็อกโก (พ.ศ. 2547)
ประเทศปากีสถาน (พ.ศ. 2547)

ที่มา วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี

นาโต (NATO)

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization) หรือ นาโต (NATO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ

ประเทศสมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา. โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ต่อมา มีประเทศโครเอเชียและ แอลบาเนีย มาเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน 2008 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

ที่มา วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี

Saturday, February 06, 2010

สงครามเครือข่าย (NCO)

Network-Centric Operations คือหลักการการทำสงครามสมัยใหม่ที่เชื่อมต่อกำลังรบในส่วนต่าง ๆ ในสนามรบเข้าด้วยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล สถานะ และสถานการณ์ของตนกับหน่วยอื่น ไปจนถึงการเพิ่มการเชื่อมต่อ การปฏิบัติการร่วมกัน และการสั่งการที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติการเพิ่มสูงขึ้นมาก ตัวอย่างของการปฏิบัติการตามแนวคิด Network-Centric Operations ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือสงครามอ่าวเปอร์เซียร์ครั้งแรก ซึ่งกองกำลังพันธมิตรประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการสูงมาก สามารถลดการสูญเสียทั้งจากข้าศึกและจากการโจมตีฝ่ายเดียวกันเอง (Blue On Blue) แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการปฏิบัติการ ด้วยวิธีเก่า

หัวใจสำคัญของการพัฒนากำลังรบไปสู่ Network-Centric Operations นั้น นอกจากระบบเซนเซอร์ต่าง ๆ เช่นระบบเรดาร์ ระบบตรวจจับภาครับ ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ระบบ Datalink ก็มีความสำคัญมากในฐานะช่องทางในการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดคำสั่งต่าง ๆ ระหว่างหน่วย

จุดสำคัญคือ Datalink แต่ละหน่วยต้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เช่น ใน F-22 มีระบบ Datalink ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยกว่า ปัญหาคือไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องบินขับไล่หรือหน่วยอื่นๆ ได้ ทำให้กองทัพสหรัฐต้องตั้งงบประมาณในการบูรณาการณ์ระบบเข้าด้วยกัน

ที่มา: http://www.thaiarmedforce.com/

Monday, February 01, 2010

วิทยาการอำพรางข้อมูล (Steganography)

Steganography คือวิทยาการอำพรางข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เพื่อปกปิดข้อมูล เช่น แฟ้มข้อมูลเอกสาร แฟ้มข้อมูลภาพ แฟ้มข้อมูลวิดีโอ แฟ้มข้อมูลเสียง ฯ คำว่า "Steganography" มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า ปกปิดการเขียน (Concealed Writing) คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1499 โดยนาย Johannes Trithemius โดยหมายถึงการเขียนข้อความโดยใช้หมึกที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ วิทยาการอำพรางข้อมูลมีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography) แต่ความแตกต่างของศาสตร์ทั้งสองคือ การเข้ารหัสมีจุดประสงค์ในการทำให้ข้อความไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ แต่การอำพรางข้อมูลมีจุดประสงค์ในการซ่อนข้อมูล ทำให้คนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการซ่อนข้อมูลลับอยู่

ประเภทของวิธีการอำพรางข้อมูล (Steganographic techniques)
1.Physical steganography
2.Digital steganography
3.Printed steganography

ที่สำคัญในปัจจุบัน วิทยาการอำพรางข้อมูล (Steganography)ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือรับส่งข้อความลับของกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยหนังสือพิมพ์ New York Times ได้ตีพิมพ์บทความหนึ่งที่กล่าวถึงกลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ (al-Qaeda) ได้ใช้วิทยาการอำพรางข้อมูล (Steganography)เพื่อทำการเข้ารหัส (Encode) ข้อความลงในแฟ้มข้อมูลภาพและส่งอีเมล์ผ่านเครือข่าย USENET เพื่อเตรียมการและปฏิบัติการก่อการร้ายโจมตีเมื่อวันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ.2001 (Cryptography and Steganography. 2002 presentation of an overview of steganography, by Elonka Dunin, with discussion of whether Al Qaeda might have used steganography to plan the September 11, 2001 attacks.)

ข้อมูลเพิ่มเติมไปที่ Click