Thursday, March 08, 2012

Securing the Cyber Sphere

การพิทักษ์สมรภูมิไซเบอร์
ตลอดศตวรรษที่ผ่านมากองทัพจำต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางอาวุธและเทคโนโลยี เมื่อไม่นานมานี้การตระหนักถึงความเป็นไปได้อย่างสูง ที่ประเทศต่าง ๆ อาจถูกดึงให้เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามไซเบอร์ทำให้กองทัพต้องหันมาทบทวนแผนการรบของตนใหม่อีกครั้งเพื่อรับมือกับความขัดแย้งในอนาคต การปฏิบัติการในยุคสงครามไซเบอร์นั้น กองทัพจำเป็นต้องตรวจสอบทุกแง่มุมของหลักนิยมที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ของสมรภูมิรบแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 (ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2544-2643)

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางทหารเบื้องต้นหลายประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง และกองทัพต้องพิจารณา การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทั้งในสงครามตามแบบแผนและอสมมาตร นอกจากนี้ ทักษะความชำนาญทางทหารแทบทุกด้านจะต้องบรรจุการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ทางไซเบอร์ไว้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดจากสงครามไซเบอร์ ทั้งนี้เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบตัวผู้ก่อเหตุ ลึกลับซับซ้อนและรวดเร็ว ดังนั้นกองทัพจึงจำเป็นต้องทบทวนกระบวนการตัดสินใจที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การตอบโต้ตามปกติ

การปรับตัวที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกองทัพในยุคสงครามไซเบอร์ คือ การประเมินภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบอาวุธที่ใช้ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง การออกแบบระบบอาวุธในอนาคตทั้งหมดต้องคำนึงถึงการลดโอกาสที่จะถูกรบกวน หรือทำลายจากการโจมตีทางไซเบอร์ให้เหลือน้อยที่สุด


ระหว่างการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 พลโทฉกาจ ชัยสุริยา ผู้บัญชาการกองทัพบกศรีลังกากล่าวว่า ศรีลังกายังเผชิญกับภัยคุกคามของสงครามไซเบอร์จากบรรดาแนวร่วมของกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬที่ถูกรัฐบาลปราบปรามไป [เอเจนซ์ ฟรานซ์ เพรส]

อ่านเพิ่มเติม

อ้างอิง
จอห์น บูมการ์เนอร์,"Securing the Cyber Sphere, การพิทักษ์สมรภูมิไซเบอร์", Asia Pacific Defense Forum: Cyber Evolution, Volume 37, Issue 1, 2012-01-01.

Wednesday, December 21, 2011

‎10 อันดับโรงเรียนที่มีผู้หญิงหน้าตาดีที่สุด

‎10 อันดับโรงเรียนที่มีผู้หญิงหน้าตาดีที่สุด
1.โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
2.โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
3.โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์
4.โรงเรียนเซนต์ฟรังค์ซีสซาเวียร์คอนแวนต์
5.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
6.โรงเรียนสตรีวิทยา
7.โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
8.โรงเรียนเบญจมราชาลัย
9.โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์
10.โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

Saturday, September 17, 2011

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

ที่มา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี Wikipedia

Tuesday, August 23, 2011

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ พระสุพรรณกัลยา ทรงมีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรสส, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 สิริรวมการครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา

ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

เสด็จขึ้นครองราชย์
นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์

สวรรคต
สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สิริพระชนมพรรษา 50 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา

ชีวิตส่วนพระองค์
พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชส่วนใหญ่ได้จากพงศาวดารอยุธยา ซึ่งมักมีการจดบันทึกในพระราชกรณียกิจ ซึ่งส่วนใหญ่บันทึกถึงการทำสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านเป็นอันมาก จนมองข้ามเกี่ยวกับเจ้านายฝ่ายในหรือพระมเหสีของพระองค์ แต่อย่างไรก็ตามได้มีการปรากฏพระนามของเจ้านายฝ่ายใน ในเอกสารของต่างชาติ 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งได้แก่ จดหมายเหตุสเปน (History of the Philippines and Other Kingdom) ของบาทหลวงมาร์เชโล เด ริบาเดเนย์รา (Marchelo de Ribadeneira, O.F.M), จดหมายเหตุวันวลิต, พงศาวดารละแวก, คำให้การขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ซึ่งปรากฏพระนามพระนามพระมเหสี 3-4 พระองค์ โดยมีพระนามดังนี้

1.พระมณีรัตนา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด
2.เจ้าขรัวมณีจันทร์ จากจดหมายเหตุวันวลิต
3.โยเดียมี้พระยา พระราชธิดาในพระเจ้านรธามังสอ กับพระนางเชงพยูเชงเมดอ ปฐมวงศ์พม่าที่ปกครองอาณาจักรล้านนา จากพงศาวดารพม่า
4.พระเอกกษัตรีย์ พระราชธิดาในพระเจ้าศรีสุพรรณมาธิราช เจ้าแผ่นดินเขมร จากพงศาวดารเขมร

มีการกล่าวถึง พระมณีรัตนา และเจ้าขรัวมณีจันทร์ ว่าอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่บ้างก็ว่าอาจเป็นคนละคนกัน โดยเชื่อว่า พระมณีรัตนาอาจเป็นเจ้าหญิงที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ละโว้สายสุพรรณภูมิของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระมหินทราธิราช ซึ่งในขณะนั้นเจ้านายฝ่ายในในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระรัตนมณีเนตร หรือ พระแก้วฟ้า ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างชนนีของพระวิสุทธิกษัตรีย์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นพระนางจะมีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาของพระนเรศวร

ที่มา: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช Thai Wikipedia