Monday, May 30, 2011

โครงการรถไฟความเร็วสูง สายเอเชีย

โครงการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail,HSR) สายเอเชีย เป็นโครงการของรัฐบาลไทย ที่จะร่วมทุนกับรัฐบาลจีน ซึ่งมีทั้งหมด 5 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ระยอง,กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในราวปลายปี 54 ถึงต้นปี 55 น่าจะสามารถดำเนินการเปิดประมูลงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายเอเชีย เส้นทางแรกคือ กรุงเทพฯ-หนองคาย มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท ระยะทาง 260 กิโลเมตร

โครงการรถไฟความเร็วสูง สายเอเชียดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่คณะของนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อราวเดือนมิ.ย.53 ขณะที่เมื่อปลายเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ที่ประชุมรัฐสภา เห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือ ด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยจะร่วมมือกันพัฒนาการก่อสร้างทาง, การเดินรถไฟ และการบริหารจัดการกิจการ รถไฟความเร็วสูง ใน 5 เส้นทางหลัก

ขณะนี้ยังมีอีกหลายประเด็นหลัก ที่ยังต้องสรุปของฝ่ายไทยก่อนที่จะเปิดการเจรจากับจีน เช่น เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของโครงการดังกล่าว ซึ่งตามกฏหมายของไทย โครงการร่วมทุนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ กำหนดว่าไทยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของผู้บริหารโครงการ ซึ่งก็ต้องมีการกำหนดว่า จากฝ่ายไทยจะมีจำนวนเท่าใด จีนจำนวนเท่าใด เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฏระเบียบของทั้งสองฝ่าย ส่วนเรื่องของผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการดังกล่าว อาจจะใช้แนวทางให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยและจีน จับมือร่วมกันเป็นพันธมิตร และยื่นประมูลร่วมกันซึ่งเห็นว่าเป็นแนวทางที่ทั้งสองประเทศจะได้ประโยชน์

ปัญหาราคาข้าวและเงินงบประมาณที่มาจากภาษีอากร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุว่ารัฐบาลต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งแปลว่าต้องปล่อยให้กลไกราคาทำงานโดยรัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการทำงานของตลาด แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราจะเห็นว่ามีตลาดสินค้าบางชนิดที่รัฐบาลจะเข้าไปควบคุมดูแลระดับราคาของมัน เพราะรัฐบาลคิดว่าถ้าปล่อยให้กลไกราคาทำงานอย่างเสรีแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือการเข้าไปแทรกแซงระดับราคาสินค้าเกษตร ซึ่งหมายถึงการไม่ปล่อยให้ “ราคา” สินค้าเกษตรซื้อขายกันตามราคาตลาด และเมื่อไหร่ที่รัฐบาลมีนโยบายแทรกแซงการทำงานของตลาด คำถามที่ตามมาเสมอก็คือควรใช้วิธีอะไรในการแทรกแซงเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรมากที่สุด หรือเกิดผลกระทบทางลบน้อยที่สุด ดังเช่นกรณีล่าสุด เรื่องของข้าว ที่เถียงกันว่าควรใช้วิธีใดระหว่างการรับจำนำกับการประกันราคา

อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว การแทรกแซงราคาสินค้าของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นวิธีรับจำนำหรือประกันราคา ล้วนเป็นวิธีที่ทำโดยมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ จึงแทบไม่ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรยกตัวสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลรับซื้อสินค้าเกษตรเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตทั้งหมด เช่น การเปิดรับจำนำข้าวทั้งหมดเพียง 6 ล้านตันจากผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมดยี่สิบกว่าล้านตัน เป็นต้น จึงทำให้ผลประโยชน์จากการแทรกแซงตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ เพียงหยิบมือเดียว

คำถามคือ ถ้าเช่นนั้น รัฐบาลควรเลิกการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรไปเลย จะดีหรือไม่?

คำตอบคือ ในระยะสั้น รัฐบาลคงยังต้องแทรกแซงหรือช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป เพราะถ้าปล่อยให้ตลาดทำงานเอง มันจะมีปัญหาอย่างที่กล่าวมาแล้ว (อ่านเพิ่มเติม) แต่สิ่งที่รัฐบาลควรพิจารณาอย่างจริงจังคือคิดหาวิธีที่ได้ผลจริงๆ วิธีที่ทำให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ วิธีที่ไม่สร้างภาระด้านงบประมาณให้กับรัฐบาลมากจนเกินไป วิธีที่ไม่เปิดช่องให้เกิดการทุจริตได้อย่างง่ายๆ วิธีที่สามารถสร้างพฤติกรรมของเกษตรกรให้เน้นการพึ่งตัวเองมากกว่าการหวังพึ่งความช่วยเหลือจากรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ใช้วิธีการที่มีเป้าหมายหลักอยู่เพียงแค่การเพิ่มฐานเสียงและความนิยมเท่านั้น

ส่วนในระยะยาว ทางออกที่ควรจะเป็นคือการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า ตลอดจนช่วยพัฒนาการผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น หรือไม่ก็ต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลงให้ได้

นอกจากนั้น การช่วยเหลือเกษตรกรยังต้องทำไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การพัฒนาด้านการศึกษา การบริหารจัดการ แม้กระทั่งการพัฒนาทางด้านการเมือง เพื่อให้เกษตรกรรู้ว่าเงินที่นำมาใช้ในโครงการแทรกแซงตลาดนั้นล้วนเป็นเงินงบประมาณที่มาจากภาษีอากรทั้งสิ้น ไม่ใช่เงินจากกระเป๋าของนักการเมืองคนใดคนหนึ่ง

รายละเอียด อ่านเพิ่มเติม

ที่มา สุภาภรณ์ อัศวไชยชาญ, "รับจำนำกับการประกันราคา: ความเหมือนบนความแตกต่าง," Wednesday, 01 July 2009

Saturday, May 28, 2011

โนอาห์ เว็บสเตอร์ (Noah Webster)



โนอาห์ เว็บสเตอร์ (อังกฤษ: Noah Webster – 16 ต.ค. 2301-28 พ.ค. 2386) นักพจนานุกรม (lexicographer) เกิดที่เมืองฮาร์ตฟอร์ด ในรัฐคอนเนตทิคัต ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล จบแล้วทำงานด้านกฎหมายแต่กลับชอบสอนหนังสือ เว็บสเตอร์เริ่มมีชื่อเสียงจากผลงานส่วนแรกที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันคือ “หนังสือหลักการสะกดคำของเว็บสเตอร์” ของ “สถาบันไวยากรณ์อังกฤษ” (พ.ศ. 2326) ก่อนปี พ.ศ. 2341 เว็บสเตอร์ยังคงยุ่งอยู่กับการเขียนบทความทางการเมือง การออกเอกสารแผ่นพับ การบรรยายตลอดจนการทำหนังสือพิมพ์จนเกษียณ



หลังเกษียณจึงได้หันมาเน้นด้านอักษรศาสตร์ที่ทำให้เว็บสเตอร์เป็นที่รู้จักในวงการพจนานุกรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “พจนานุกรมภาษาอังกฤษของอเมริกา” (ชุด 2 เล่ม) โดยทำการจดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2371 ซึ่งกลายเป็นอิทธิพลหลักที่มีต่อการเขียนพจนานุกรมในสมัยต่อๆ มา นอกจากนี้ หนังสือชื่อ “หนังสือสกดคำปกน้ำเงิน” ได้ถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียนของสหรัฐฯ เป็นเวลานานถึง 5 ชั่วคน เว็บสเตอร์จึงเกือบกลายเป็นคำเสมือนที่ใช้เรียกแทนพจนานุกรม และตัวเขาเองก็ได้รับการขนานามว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาการและการศึกษา” ของอเมริกา ปัจจุบันพจนานุกรมของเขายังคงอยู่ในชื่อของ “พจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์”

โนอาห์ เว็บสเตอร์ มีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ปลายสมัยอยุธยาและรัชสมัยของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์

ที่มา: Thai Wikipedia

Sunday, May 08, 2011

พลับพลา เกาะหมาก รีทรีท

พลับพลา เกาะหมาก รีทรีท รีสอร์ทท่ามกลางธรรมชาติและพรรณไม้นานาชนิด และหาดทรายสีขาวบนเกาะหมาก จังหวัดตราด ที่รอคอยผู้มาเยือน... เพื่อสัมผัสความงดงามแห่งท้องทะเลในบรรยากาศส่วนตัว พร้อมบริการที่เป็นมิตรhttp://www.blogger.com/img/blank.gif


This video was created by Niramita Chantasut and her husband.

Call Center (02) 664-0861-5

ที่อยู่ 50/5 หมู่ 2 อ่าวไผ่ เกาะหมาก จ.ตราด 23120

Link:
ที่พักเกาะหมาก
Plubpla Koh Mak Retreat
มากะธานี รีสอร์ท
เดอะ ชินนาม่อน อาร์ต รีสอร์ท แอนด์ สปา
เที่ยวเกาะหมาก

Wednesday, April 13, 2011

สงกรานต์


สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

วันในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์"[ต้องการอ้างอิง] วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" โดยมึสูตร หา หรคุณจูเลียน (JD) [ต้องการอ้างอิง] วันมหาสงกรานต์ และ วันเถลิงศกดังนี้

JD วันมหาสงกรานต์ = ปัดลง[(292207* (พ.ศ.-1181) -559)/800] + 1954167
JD วันเถลิงศก= ปัดลง[(292207* (พ.ศ.-1181) +1173)/800] + 1954167

จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน[ต้องการอ้างอิง] (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) ซึ่งบางปีก็อาจจะตรงกับวันใดวันหนึ่ง

กิจกรรมในวันสงกรานต์

-การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
-การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
-การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วยบังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
-การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
-การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
-การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
-การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด

ที่มา: สงกรานต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Wednesday, April 06, 2011

วันจักรี


วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี

ประวัติ
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 (ร.1-4) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ

จนกระทั่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า “วันจักรี”

ที่มา: วันจักรี วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Tuesday, April 05, 2011

Saturday, April 02, 2011

Tim Berners-Lee


Tim Berners-Lee (Sir Timothy John "Tim" Berners-Lee) เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1955 เป็นนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ และเป็นอาจารย์ที่ MIT เป็นผู้คิดค้น World Wide Web ขึ้นในเดือนมีนาคม 1989 และในวันที่ 25 ธันวาคม 1990 เขาได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบการสื่อสารแบบ Client/Server บนอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) รวมทั้งภาษาสำหรับจัดการ Web Document ด้วย HTML (Hypertext Markup Language) ที่สถาบันวิจัย CERN (European Organization for Nuclear Research) โดยมีผู้ช่วยคือนาย Robert Cailliau (เกิดวันที่ 26 มกราคม 1947)


นาย Robert Caillia



(NeXT Computer System) Web Server, Web Browser และ Web Editor เครื่องแรกของโลกที่ Tim Berners-Lee ใช้สร้าง HTTP และ HTML ที่ สถาบันวิจัย CERN โดยมี Domain Name ของ Web Server เครื่องแรกของโลกคือ http://info.cern.ch เริ่มทำงานแบบ Online ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1991

งานคิดค้น World Wide Web สำเร็จได้โดย Tim Berners-Lee ได้นำแนวคิดของระบบ ENQUIRE (ระบบการแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบ Hypertext สำหรับนักวิจัยที่สถาบันวิจัย CERN ซึ่ง Tim Berners-Lee คิดค้นเมื่อปี 1980) มาประยุกต์กับการคิดค้นระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการกำหนดมาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP, UDP และ DNS ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ ARPANET โดยมีนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญหลายคน ดังนี้
1. Jonathan Bruce Postel (6 August 1943 - 16 October 1998) ผู้ออกแบบและกำหนดมาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP, UDP, DNS, SMTP และโปรโตคอลอื่นๆ
2. Paul Baran (1926–2011) คิดค้น Packet Switching
3. Donald Davies (7 June 1924 – 28 May 2000) คิดค้น Packet Switching
4. Leonard Kleinrock (เกิด 1934 และยังมีชีวิตอยู่) คิดค้น Queueing Theory เป็นส่วนสำคัญให้ Packet Switching สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และคิดค้นเครืองสื่อสารข้อมูล Interface Message Processor (IMP) ใช้เป็นโหนดในการสือสารของ Packet Switching ในโครงการระบบเครือข่าย ARPANET


Tim Berners-Lee's original paper proposing the world wide web


Tim Berners-Lee สำเร็จปริญญาตรี โท จาก Queen's College แห่งมหาวิทยาลัย Oxford สาขาฟิสิกส์ (1973,1976) ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง


ปัจจุบัน Tim Berners-Lee เป็นผู้อำนวยการของ W3C (World Wide Web Consortium) และเป็นนักวิจัยอาวุโสของ MIT CSAIL (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory) และเป็นผู้อำนวยการ WSRI (Web Science Research Initiative) และในเดือนเมษายน 2009 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ United States National Academy of Sciences ที่ Washington D.C.

ที่มา: Tim Berners-Lee