Thursday, September 23, 2010

Wikileaks

Wikileaks.org คือเว็บไซต์ที่เผยแพร่เอกสารที่บรรจุข่าวสารที่มีชั้นความลับของประเทศต่างๆทั่วโลก ก่อตั้งเดือนธันวาคม 2006 โดยชายนามว่า จูเลียน เอสแซง (Julian Assange) ชาวออสเตรเลีย เกิดปี ค.ศ. 1971 เคยเป็นนักศึกษาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เป็นโปรแกรมเมอร์และแฮกเกอร์มาก่อน เขาเคยเป็นสมาชิกในกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อว่า International Subversives

Julian Assange (Norway, March 2010)
คุณลักษณะของเว็บไซต์ Wikileaks เหมือนกับ Wikipedia หรือสารานุกรมออนไลน์ คือ เปิดกว้างให้สามารถเข้าไปแก้ไขบทความหรือเนื้อหาได้ แต่เนื้อหาใน Wikileaks.org จะเป็นการรวบรวมเรื่องราวที่เคยเป็นความลับของประเทศต่างๆมาก่อน เช่น ข่าวสารลับของรัฐบาล ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ศาสนา ความลับทางการทหาร ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ

พันธกิจของ Wikileaks คือ การเปิดโปงรัฐบาล (We open governments)

มีข่าวว่าเซิร์ฟเวอร์ของ Wikileaks ตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน และมีเซิร์ฟเวอร์สำรอง (mirror) ตั้งอยู่มากมายทั่วโลก นอกจากนี้แล้วยังข่าวว่ายังมีเซิร์ฟเวอร์บางส่วนของ Wikileaks ได้ย้ายไปอยู่ในศูนย์ข้อมูลชื่อ White Mountains ของบริษัท Bahnhof โดย White Mountains เป็นอดีตหลุมหลบภัยนิวเคลียร์สมัยสงครามเย็น ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของ Wikileaks ได้ไปอยู่ในสภาวะใต้ดินลึก 30 เมตร มีประตูเหล็กหนาครึ่งเมตร และมีระบบปั่นไฟสำรองที่นำมาจากเรือดำน้ำของเยอรมัน และนอกจากนาย Julian Assange เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์แล้วยังมีบุคคลใดอีกที่ทำหน้าที่ดูแลเว็บไซต์ Wikileaks.org

จากแหล่งข่าวเปิด ระบุว่าทีมงานของ Wikileaks มีจำนวน 5 คน ทำงานร่วมกันเต็มเวลา (Full time) และอีกประมาณ 800 คน ทำงานร่วมกันบางครั้งบางคราว

ขณะนี้ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้มีมาตรการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ Wikileaks.org และรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประณามเว็บไซต์ Wikileaks.org ซึ่งเอกสารต่างๆที่เว็บไซต์ Wikileaks.org ได้รวบรวมและเผยแพร่นั้นกำลังคุกคามความมั่นคงของชาติต่างๆ

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Wikileaks คาดว่ายังมีอยู่อีกมากมาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก

Sunday, September 12, 2010

WiMAX

WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access)เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สาย ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาให้ใช้กันทั่วภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจุบันประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้มีการลงทุนริเริ่มกันไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับประเทศไทยได้มีการทดลองติดตั้งบางส่วนในหลายจังหวัด อาทิ นครราชสีมา ขอนแก่น หาดใหญ่ เชียงใหม่ เป็นต้น โดยแต่เดิมเราจะใช้บรอดแบนด์แบบมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันผ่านทางสาย Lan หรือแบบไร้สายในระยะใกล้ๆเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่บนไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุดได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานในระยะรัศมีที่ไกลๆออกไปเป็นกิโลๆเสมือนเป็น Hot Spot ขนาดใหญ่

ไวแม็กซ์ (WiMAX)บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนี้ถูกพัฒนาขึ้นบนมาตราฐานการสื่อสาร IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาอยู่บนมาตราฐาน IEEE 802.16d มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดต่อจุด(Point-to-point)โดยได้มีการอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีระยะรัศมีทำการที่ 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นั่นก็หมายความว่า ไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถทำงานได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 3G มากถึง 10 เท่า พร้อมยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงหรือจะเป็นข้อมูลล้วนๆก็ตามได้สูงสุดถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งก็เร็วกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G มากถึง 30 เท่าเลยที่เดียว ต่อมา IEEE ได้พัฒนามาตรฐานการสื่อสาร IEEE 802.16 ใหม่เป็น IEEE 802.16e โดยมาตราฐาน IEEE 802.16e หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆกัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตราฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตราฐานชนิดอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี




ระบบเทคโนโลยี WiMAX ทำงานอย่างไร



ไวแม็กซ์ (WiMAX) บนเทคโนโลยีแบบไร้สายมาตรฐานใหม่ IEEE 802.16 มีความสามรถในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้หลักการของเทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ของวิทยุขนาดเล็ก (Sub-Carrier) มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการนำคลื่นความถี่วิทยุขนาดเล็กในระดับ KHz มาจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ตามข้อกำหนดของคลื่นความถี่วิทยุจนเกิดเป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่มีขนาดใหญ่ และรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในทุกสถานที่ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าความเร็วสำหรับ ไวแม็กซ์ (WiMAX) นั้นมีอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ระยพไกลมากถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นอกจากนี้สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการรับส่งระหว่างความเร็วและระยะทางได้อีกด้วย

ในส่วนของพื้นที่บริการ ก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางโดยใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่มีความคล่องตัวสูงสำหรับการใช้งานบนมาตรฐาน IEEE 802.16a บนระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศ แบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุน และมีความน่าเชื่อถือสูงด้วยมีระบบจัดการลำดับความสำคัญของงานบริการ (Qos – Quality of Service) ที่รองรับ การทำงานของบริการสัญาณภาพและเสียง ซึ่งระบบเสียงบนเทคโนโลยี WiMAX นั้นจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Muliplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอร์เรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบของลัษณะงาน

ส่วนเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยนั้น WiMAX มีคุณสมบัติของระบบรักษาความปลอดภัยสูงด้วยระบบรักษารหัสลับของข้อมูลและการเข้ารหัสในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมระบบตรวจสอบสิทธิในการใช้งาน



สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน ไวแมกซ์ นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณืที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่ ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันทั่วไปว่า ไวแมกซ์ เช่นเดียวกับมาตรฐาน IEEE 802.1

ผู้เขียน
๐ จุไรพร สุขปักษา
๐ ฐิติวัชร์ กมลธีระโรจน์
๐ อุดร เขียวอ่อน

ที่มา - WiMAX - vcharkarn.com, Wikipedia - Thai

More information: IEEE 802.16 Working Group on Broadband Wireless Access Standards, BWA คืออะไร ? โดย พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, Siam WiMAX

Saturday, September 11, 2010

Broadband Wireless Access: BWA (WiMAX)

การสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย(Broadband Wireless Access: BWA) เช่นเทคโนโลยี WiMAX เป็นบริการที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง อันเนื่องมาจากการจุดเด่นของเทคโนโลยีไร้สาย

นโยบายในกรณีคลื่นความถี่ของ BWA
1.การใช้คลื่นย่าน 2.3 GHz จะเป็นไปในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะให้บริการจากเมืองใหญ่ไปสู่เมืองเล็ก
2.การใช้คลื่นย่าน 2.5 GHz จะเป็นไปในเชิงบริการเพื่อสังคมและประชาชนในพื้นที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

การนำเทคโนโลยี BWA มาใช้สำหรับงานสาธารณะ จะเป็นการนำเอาจุดเด่นของโครงข่ายไร้สายในเรื่องของการสะดวก รวดเร็ว และต้นทุนต่ำในการขยายโครงข่ายมาใช้ โดยรูปแบบของการนำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดตั้งศูนย์กลางไว้คอยเป็นแหล่งกระจายบริการ หรือข้อมูลข่าวสารไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องการได้

WiMAX ใช้ความถี่วิทยุ 2500-2520 MHz

ความแตกต่างระหว่าง BWA(WiMAX) และ 3G เทคโนโลยี 3G และ BWA เช่น WiMAX ต่างเป็นเทคโนโลยีที่รองรับการให้บริการบรอดแบนด์ด้วยกันทั้งคู่ แต่ความแตกต่างของทั้งสองเทคโนโลยีนั้นจะเกิดจากสายการพัฒนาของเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยี 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เน้นการสื่อสารเสียง ส่วนเทคโนโลยี BWA จะมีจุดเริ่มต้นจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ที่มีเพียงเฉพาะข่ายสายเข้าถึงเท่านั้น โดยในระยะแรกจะยังไม่ให้ความสำคัญกับบริการสื่อสารเสียง

สรุปความแตกต่างหรือข้อได้เปรียบเสียเปรียบของทั้งสองเทคโนโลยี ดังนี้

-ความสามารถ Mobility - ผู้ใช้โทรศัพท์จะสามารถสื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพการเคลื่อนที่ลักษณะใด แต่ BWA ในปัจจุบันนั้น ถึงแม้ผู้ใช้งานจะสามารถใช้ได้แม้ขณะเคลื่อนที่ แต่การเคลื่อนที่นั้นยังคงต้องอยู่ในพื้นที่การให้บริการของสถานีฐานเดิม ทั้งนี้ เนื่องจาก BWA ยังไม่มีการพัฒนาในเรื่องของการ Hand-over หรือ Hand-off เช่นที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถทำได้
-ความสามารถในเรื่องความเร็ว – ในประเด็นนี้หมายถึงความเร็วในการสื่อสารอินเทอร์เน็ต ซึ่ง BWA มีความได้เปรียบ 3G กล่าวคือ BWA สามารถรองรับการสื่อสารที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 2 Mbps ส่วน 3G นั้นรองรับความเร็ว 384 kbps
-บริการและคุณภาพ – ทั้งสองเทคโนโลยีจะมีข้อได้เปรียบในแต่ละบริการ เช่น 3G จะมีคุณภาพการให้บริการสื่อสารเสียงที่ดีกว่า ส่วนบริการด้านข้อมูลหรือวีดีโอหรือพหุสื่อนั้น BWA จะทำได้ดีกว่า เนื่องจากความสามารถในการสื่อสารความเร็วสูงได้ดีกว่านั้นเอง
ตัวอย่างของบริการที่สัมพันธ์กับความเร็ว เช่น บริการสื่อสารเสียง มีความต้องการความเร็วเพีย 4kpbs-64kpbs ส่วนวีดีโอนั้นจะต้องการความเร็วมากกว่า 1 Mbps

แนวโน้มในอนาคต แนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีของทั้งสองนั้น มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่เป็นเสมือนบริการเดียวกัน คือ 3G จะพัฒนาเรื่องการสื่อสารข้อมูลให้เร็วขึ้น ส่วน BWA จะพัฒนาให้รองรับการสื่อสารเสียงที่มีคุณภาพและมี Mobility ในลักษณะเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ซึ่งในอนาคตอาจกลายเป็น Service Convergence นั้นคือรวมบริการเบ็ดเสร็จทั้งเสียงและข้อมูลเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลมัลติมีเดีย

ที่มา: WiMAX - Dr. Natee Sukonrat

3G -> 3.9G

3.9G คือ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G ความเร็วสูงสุดในการสื่อสารของ 3.9G คือ 42 Mbps ส่วนความเร็วสูงสุดของ 3G คือ 2 Mbps ดังนั้น 3.9G คือ เวอรชั่นล่าสุดของ 3G แต่มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณเร็วกว่าประมาณ 20 เท่า 3.9G จึงเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

เมื่อความเร็วในการส่งข้อมูลมากขึ้น ทำให้คุณภาพของบริการดีขึ้น เช่น

-บริการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Mobile Broadband)ด้วยความเร็วสูงมากขึ้น
-บริการมัลตืมีเดีย เช่น การส่งคลิปเสียง/คลิปวีดีโอ เล่นเกมส์ ดาวน์โหลดเพลงและรูปภาพ video conference และบริการในลักษณะของ triple play คือ การใช้โทรศัพท์ การใช้อินเตอร์เน็ต และการรับส่งข้อมูลอื่นได้พร้อมกัน นอกจากนี้ยังทำให้การรับชมรับฟัง Hi Density TV เป็น real time มากขึ้นและคมชัดมากขึ้น
-นอกจากประโยชน์ที่เกิดในชีวิตประจำวันแล้ว ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ 3.9G คือ การเพิ่มโอกาสของการสื่อสารความเร็วสูงในพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงทางสาย เช่น พื้นที่ในส่งภูมิภาคของประเทศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึเป็นช่องทางที่สำคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารและความรู้สู่ประชาชน

3.9G เป็นเทคโนโลยีเดียวกับ 3G ซึ่งจะสามารถรองรับเครื่องของลูกข่ายของ 3G และ 2G ได้ทั้งหมด ใบอนุญาต 3.9G จะเป็นย่านความถี่ 2100 MHz

ที่มา: 3.9G - Dr. Natee Sukonrat