Sunday, September 12, 2010

WiMAX

WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access)เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สาย ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาให้ใช้กันทั่วภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจุบันประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้มีการลงทุนริเริ่มกันไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับประเทศไทยได้มีการทดลองติดตั้งบางส่วนในหลายจังหวัด อาทิ นครราชสีมา ขอนแก่น หาดใหญ่ เชียงใหม่ เป็นต้น โดยแต่เดิมเราจะใช้บรอดแบนด์แบบมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันผ่านทางสาย Lan หรือแบบไร้สายในระยะใกล้ๆเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่บนไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุดได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานในระยะรัศมีที่ไกลๆออกไปเป็นกิโลๆเสมือนเป็น Hot Spot ขนาดใหญ่

ไวแม็กซ์ (WiMAX)บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนี้ถูกพัฒนาขึ้นบนมาตราฐานการสื่อสาร IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาอยู่บนมาตราฐาน IEEE 802.16d มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดต่อจุด(Point-to-point)โดยได้มีการอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีระยะรัศมีทำการที่ 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นั่นก็หมายความว่า ไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถทำงานได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 3G มากถึง 10 เท่า พร้อมยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงหรือจะเป็นข้อมูลล้วนๆก็ตามได้สูงสุดถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งก็เร็วกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G มากถึง 30 เท่าเลยที่เดียว ต่อมา IEEE ได้พัฒนามาตรฐานการสื่อสาร IEEE 802.16 ใหม่เป็น IEEE 802.16e โดยมาตราฐาน IEEE 802.16e หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆกัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตราฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตราฐานชนิดอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี




ระบบเทคโนโลยี WiMAX ทำงานอย่างไร



ไวแม็กซ์ (WiMAX) บนเทคโนโลยีแบบไร้สายมาตรฐานใหม่ IEEE 802.16 มีความสามรถในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้หลักการของเทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ของวิทยุขนาดเล็ก (Sub-Carrier) มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการนำคลื่นความถี่วิทยุขนาดเล็กในระดับ KHz มาจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ตามข้อกำหนดของคลื่นความถี่วิทยุจนเกิดเป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่มีขนาดใหญ่ และรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในทุกสถานที่ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าความเร็วสำหรับ ไวแม็กซ์ (WiMAX) นั้นมีอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ระยพไกลมากถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นอกจากนี้สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการรับส่งระหว่างความเร็วและระยะทางได้อีกด้วย

ในส่วนของพื้นที่บริการ ก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางโดยใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่มีความคล่องตัวสูงสำหรับการใช้งานบนมาตรฐาน IEEE 802.16a บนระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศ แบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุน และมีความน่าเชื่อถือสูงด้วยมีระบบจัดการลำดับความสำคัญของงานบริการ (Qos – Quality of Service) ที่รองรับ การทำงานของบริการสัญาณภาพและเสียง ซึ่งระบบเสียงบนเทคโนโลยี WiMAX นั้นจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Muliplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอร์เรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบของลัษณะงาน

ส่วนเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยนั้น WiMAX มีคุณสมบัติของระบบรักษาความปลอดภัยสูงด้วยระบบรักษารหัสลับของข้อมูลและการเข้ารหัสในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมระบบตรวจสอบสิทธิในการใช้งาน



สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน ไวแมกซ์ นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณืที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่ ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันทั่วไปว่า ไวแมกซ์ เช่นเดียวกับมาตรฐาน IEEE 802.1

ผู้เขียน
๐ จุไรพร สุขปักษา
๐ ฐิติวัชร์ กมลธีระโรจน์
๐ อุดร เขียวอ่อน

ที่มา - WiMAX - vcharkarn.com, Wikipedia - Thai

More information: IEEE 802.16 Working Group on Broadband Wireless Access Standards, BWA คืออะไร ? โดย พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, Siam WiMAX