KASUMI คือบล็อกเข้ารหัสด้วยคีย์รหัสขนาด 128-bit และ 64-bit สำหรับใช้ในระบบการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งเครือข่ายแบบ UTMS,GSM และ GPRS พัฒนาโดย 3GPP
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ UTMS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลจำนวน 2 อัลกอริทึมส์คือ UEA1 และ UIA1
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GSM จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ A5/3 Key Stream Generator
KASUMI เมื่อถูกใช้ในระบบ GPRS จะใช้อัลกอริทึมส์เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลคือ GEA3 Key Stream Generator
การทำ code breaking ของ KASUMI ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ.2001 โดยนาย Kuhn โดยใช้เทคนิคชื่อว่า Impossible Differential Attack จากนั้นในปี ค.ศ.2003 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Elad Barkan, Eli Bilham, และ Nathan Keller ได้สาธิตการเจาะระบบ GSM แบบ Man-In-The-Middle Attacks ที่ไม่ได้ใช้ A5/3 cipher และได้เขียนบทความของเรื่องนี้ในปี ค.ศ.2006
ในปี ค.ศ.2005 นักวิจัยประเทศอิสราเอลชื่อ นาย Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller ได้เผยแพร่การเจาะระบบบล็อกเข้ารหัส KASUMI แบบ Related-Key Rectangle (Boomerang) Attacks ซึ่งสามารถ code breaking ได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ.2010 นักวิจัยทั้ง 3 คน (Eli Biham, Orr Dunkelman และ Nathan Keller) ได้เผยแพร่การเจาะระบบแบบใหม่สำหรับเจาะการเข้ารหัสคีย์ A5/3 cipher โดยใช้เทคนิค Related-Key Attack โดยนักวิจัยเหล่านั้นต้องการแสดงให้เห็นว่าการรับประกันความปลอดภัยข้อมูลของ 3GPP โดยใช้ KASUMI ซึ่งพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (Mitsubishi Improved Security Technology) นั้นไม่มีผลอย่างมีนัยะสำคัญ
สำหรับบล็อกเข้ารหัส MISTY1 (RFC2994) ได้ร้บการวิจัยและพัฒนาในปี ค.ศ.1995 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคือ นาย Matsui Mitsuru, Ichikawa Tetsuya, Sorimachi Toru, Tokita Toshio และ Yamagishi Atsuhiro แต่วิธีการเจาะรหัสคีย์ KASUMI ของนักวิจัยประเทศอิสราเอลทั้ง 3 คน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับบล็อกเข้ารหัส MISTY1
ที่มา:
KASUMI http://en.wikipedia.org/wiki/KASUMI
MISTY1 http://en.wikipedia.org/wiki/MISTY1
Friday, September 27, 2013
Subscribe to:
Posts (Atom)