Thursday, March 08, 2012

Securing the Cyber Sphere

การพิทักษ์สมรภูมิไซเบอร์
ตลอดศตวรรษที่ผ่านมากองทัพจำต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางอาวุธและเทคโนโลยี เมื่อไม่นานมานี้การตระหนักถึงความเป็นไปได้อย่างสูง ที่ประเทศต่าง ๆ อาจถูกดึงให้เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามไซเบอร์ทำให้กองทัพต้องหันมาทบทวนแผนการรบของตนใหม่อีกครั้งเพื่อรับมือกับความขัดแย้งในอนาคต การปฏิบัติการในยุคสงครามไซเบอร์นั้น กองทัพจำเป็นต้องตรวจสอบทุกแง่มุมของหลักนิยมที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ของสมรภูมิรบแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 (ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2544-2643)

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางทหารเบื้องต้นหลายประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง และกองทัพต้องพิจารณา การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทั้งในสงครามตามแบบแผนและอสมมาตร นอกจากนี้ ทักษะความชำนาญทางทหารแทบทุกด้านจะต้องบรรจุการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ทางไซเบอร์ไว้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดจากสงครามไซเบอร์ ทั้งนี้เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบตัวผู้ก่อเหตุ ลึกลับซับซ้อนและรวดเร็ว ดังนั้นกองทัพจึงจำเป็นต้องทบทวนกระบวนการตัดสินใจที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การตอบโต้ตามปกติ

การปรับตัวที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกองทัพในยุคสงครามไซเบอร์ คือ การประเมินภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบอาวุธที่ใช้ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง การออกแบบระบบอาวุธในอนาคตทั้งหมดต้องคำนึงถึงการลดโอกาสที่จะถูกรบกวน หรือทำลายจากการโจมตีทางไซเบอร์ให้เหลือน้อยที่สุด


ระหว่างการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 พลโทฉกาจ ชัยสุริยา ผู้บัญชาการกองทัพบกศรีลังกากล่าวว่า ศรีลังกายังเผชิญกับภัยคุกคามของสงครามไซเบอร์จากบรรดาแนวร่วมของกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬที่ถูกรัฐบาลปราบปรามไป [เอเจนซ์ ฟรานซ์ เพรส]

อ่านเพิ่มเติม

อ้างอิง
จอห์น บูมการ์เนอร์,"Securing the Cyber Sphere, การพิทักษ์สมรภูมิไซเบอร์", Asia Pacific Defense Forum: Cyber Evolution, Volume 37, Issue 1, 2012-01-01.