มารยาทในการปฏิบัติงาน / มารยาทในที่ทำงานของทหาร
1. ควรเรียกกันตามชั้นยศเสมอเพื่อป้องกันไม่มีมารยาทอันดีกับผู้ที่มีอายุมากกว่า
2. การ
ขอเข้ามาติดต่อราชการจากบุคคลภายนอก การปฏิบัติควรมีความละเอียดอ่อน
มีขั้นตอนเพื่อป้องกันเหตุร้าย การปฏิบัติที่จะทำให้เสื่อมเกียรติ
หรือทำให้ผู้ที่ต้องการเข้าพบมีเวลาเตรียมตัวก่อนโดยควรปฏิบัติดังนี้
3. กรณี
ขอเข้าหารือข้อราชการ /
ขอเข้าพบกับผู้บังคับหน่วยให้สอบถามความประสงค์ในชั้นต้น
(ให้ได้ความว่าเป็นใคร มาจากไหนและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ)
หลังจากทราบข้อมูลในชั้นต้นแล้วแจ้งให้กรุณารออยู่สักครู่
ลำดับต่อไปให้ไปแจ้ง ฝสธ.
เพื่อรับทราบเพื่อพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเรียนให้
ผบ.หน่วยตกลงใจการปฏิบัติต่อไป
และท้ายสุดเมื่อได้รับการปฏิบัติที่แน่นอนแล้ว
จึงมาแจ้งให้กับผู้ที่ขอเข้าพบรับทราบ และนำเข้ารอที่ห้องรับรองเพื่อให้
ฝสธ. หรือนายทหารคนสนิทนำเข้าพบต่อไป
4. กรณีขอประสานข้อราชการ
กับข้าราชการภายในหน่วย ให้สอบถามความประสงค์ในชั้นต้น
โทรแจ้งผู้ที่ถูกเข้าพบทราบ เมื่อได้รับการปฏิบัติที่แน่นอน
จากนั้นจึงแจ้งให้กับผู้ที่ขอเข้าพบทราบข้อมูล และให้เสมียนเวรนำไปพบต่อไป
(หากมีห้องรับรองเป็นการเฉพาะให้เสมียนเวรนำไปพักคอย
รอจนกว่าผู้ที่ต้องการเข้าพบมาพบ) จึงเสร็จหน้าที่
และไม่สมควรถือวิสาสะนำเข้าพบโดยตรงแต่ควรแจ้งให้กับนายทหารธุรการ หรือ ผช.
ของแต่ละกอง หรือ รอง ผอ.กอง ให้รับทราบในชั้นต้นก่อนนำเข้าพบด้วย
5. กรณี
ติดต่อธุระส่วนตัวกับข้าราชการภายในหน่วยงาน
การปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีขอประสานข้อราชการกับข้าราชการภายในหน่วย
แต่ต้องได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนจากผู้ที่ถูกเข้าพบก่อน
6. ควรเรียกกันตามชั้นยศเสมอ (ป้องกันอาวุโสทางอายุ และการที่จะมียศสูงกว่าในอนาคต เพื่อการบริหารงานตามสายการบังคับบัญชาในโอกาสหน้า)
7. การใส่เสื้อคลุมไม่ได้แสดงว่าท่านไม่มียศ หรือยกเว้นการแสดงความเคารพ
8. ไม่ควรแสดงความเคารพไปพร้อมกับการพูดคุยโทรศัพท์ทุกประเภทไปด้วย
9. ไม่ควรพูดข้ามศีรษะผู้ที่มียศสูงกว่าถือว่าไม่สุภาพ
10. ช่องทางเดิน / ในลิฟต์ควรหยุดพูดชั่วขณะในขณะที่มีผู้ที่มียศสูงกว่าเดินผ่านหรืออยู่ในลิฟต์ด้วย
11. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด เช่น ชุดกีฬาต้องสวมรองเท้าผ้าใบ และต้องสวมถุงเท้าเสมอ
12. ไม่ควรปล่อยทรงผมในกรม(เว้นขณะเล่นกีฬา)
13. แสดงการเคารพทุกครั้งเมื่อมีโอกาสโดยไม่แบ่งชาย-หญิง หรือบุคคลภายนอกหน่วย
14. ไม่ควรใส่ชุดอื่นใดนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนดในขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุดครึ่งท่อน หรือชุดวอร์มหลากสี
15. ไม่ควรพูดคุยเสียงดังในขณะเวลาปฏิบัติงาน ควรเกรงใจบุคคลใกล้เคียง
16. ผู้น้อย
ต้องแสดงความเคารพผู้ใหญ่ด้วยทุกครั้ง (ต่างกองที่มียศ หรืออาวุโสสูงกว่า)
หากในช่วงเช้าไม่พบเจอ ในช่วงบ่ายหรือพบกันครั้งแรกก็ต้องแสดงความเคารพด้วย
มิใช่สาย หรือบ่ายแล้วไม่ต้องแสดงความเคารพกันอีก
17. ต้องติดบัตรแสดงตนตลอดเวลา และทุกชุดในเวลาปฏิบัติงาน
18. กิริยาดื้อดัน ไม่ฟังคำสั่ง แสดงการเถียงต่าง ๆ ทหารไม่ควรประพฤติเลยเพราะจะทำให้เสียแก่วินัย
19. ต้อง
ระวังความสะอาดเรียบร้อยในที่อยู่ และที่ทำงานของตนให้มาก
ๆ เพราะที่อยู่ของตนนั่นหรือที่ทำงาน
จะเป็นเครื่องแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีนิสัยอย่างไร
ทั้งถ้าที่อยู่โสโครกแล้วก็อาจบังเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อย่างร้ายแรงได้
20. คน
ไทยย่อมถือกันว่าศีรษะเป็นของสูงเสมอ ฉะนั้นต้องระวังอย่าใช้กิริยาข้ามกราย
และเวลาพูดอย่าใช้มือชี้ข้ามหน้าตา
และศีรษะของผู้อื่น ถ้าจะหยิบของซึ่งอยู่ในที่สูง
หรือเดินเฉียดใกล้บุคคลต้องออกวาจา และแสดงกิริยาเอางามเป็นการขอโทษ
21. ทหารทุกระดับและชั้นยศ ควรต้องมีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
22. เมื่อทหารเห็นทหารผู้ใดทำราชการอย่างใดอยู่
และเหลือกำลังของผู้นั้นจักทำให้สำเร็จโดยเร็วได้
และการที่ทำอยู่นั้นเมื่อตนเข้าช่วยด้วยก็จะเป็นประโยชน์ และรวดเร็วขึ้น
ก็ให้เข้าช่วยที่ทำการนั้น ๆ โดยเร็วที่สุดเสมอ เพื่อประโยชน์ในทางราชการ
และบำรุงความสามัคคีซึ่งกันและกันอีกด้วย
23. ทหารไปในที่ใด
ๆ ก็ดี ต้องระวังในเรื่องแสดงความเคารพอยู่เสมอ
และต้องแสดงความเคารพโดยใช้กิริยานอบน้อม
(ตามแบบทหาร) ไม่ใช่ทำโดยเสียไม่ได้ หรือต้องบังคับให้ทำ
และจะเหม่อเสียโดยมิได้เป็นอันขาด เพราะทหารได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีหูไวตาไว
ในทุกรณีเสมอ
24. การมาทันเวลาราชการ หรือมาปฏิบัติงานสายนั้น
นับว่าเป็นข้อสำคัญสำหรับราชการทหารมาก โดยที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หรือผู้น้อยต้องมาก่อนผู้บังคับบัญชา
หรือผู้ใหญ่เสมอ หรือผู้บังคับบัญชาก็ไม่ควรให้ผู้น้อยหรือผู้ใต้
บังคับบัญชามาคอยตนอยู่นาน ต้องระวังและทำเป็นตัวอย่างอันดีอยู่เสมอ
ซึ่งถ้าตนมาช้าสัก ๒-๓ ครั้ง
ต่อไปผู้อื่นก็จะมาช้าอย่างที่ตนทำแบบนั้นทีเดียวก็จะว่ากล่าวตักเตือนกัน
ไม่ได้ ต้องหันมาพิจารณาดูด้วยว่า ทำไมผู้ใต้บังคับบัญชาที่มียศน้อยกว่า
เงินเดือนน้อยกว่ามีภาระส่วนตนมากกว่า ถึงสามารถมาปฏิบัติงานก่อนตนได้
ก็จะเป็นแนวทางให้ท่านต้องปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นตัวอย่างได้ดียิ่งขึ้น
25. ต้องระวังแยกเวลาในราชการ และนอกเวลาราชการให้ถูกต้อง
ไม่ควรเบียดบังเวลาราชการทำธุระส่วนตัวบ่อยนัก
จะเป็นการเอาเปรียบผู้ร่วมงาน และราชการ
26. เวลาเป็นสิ่งมีค่า
อย่านำเวลาไปใช้สำหรับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กับหน่วยงาน และชาติบ้านเมือง
หรืออย่าปล่อยให้เวลาว่างที่เหลืออยู่หมดไปเสียเปล่า ๆ
กับการพุดคุยจับกลุ่มนินทา รับประทานทานของคบเคี้ยว หรือโทรศัพท์นาน
แต่ควรอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์เสมอ
27. อย่าทำการงานให้ช้าจนเกินเวลาที่ควรเป็นอันขาด จะทำให้งานของราชการเสียหาย
28. ของที่ยืมมาจากผู้อื่นเมื่อได้ใช้แล้วต้องส่งคืนเจ้าของ หรือหน่วยงานโดยเร็ว
29. การหมุนโทรศัพท์ไปถึงผู้อื่นควรบอก ยศ, ชื่อ และสถานที่ทำงานก่อน แล้วจึงพูดในเรื่องที่ต้องการ
30. การรับสายโทรศัพท์ควรบอกสถานที่ทำงาน, ยศ และชื่อ ของผู้รับสายก่อน
31. หากผู้ที่ต้องการพูดไม่อยู่ในขณะนั้น ผู้รับสายควรจด ยศ, ชื่อ, ที่ทำงาน และหมายเลขโทรศัพท์เพื่อมอบให้ผู้มีธุระ
32. ผู้ที่ต้องการพูดด้วยไม่อยู่ ก็ควรขอให้ผู้ที่รับสายจด ยศ, ชื่อ, ที่ทำงาน และหมายเลขที่โทรกลับ
33. ควรช่วยเหลือผู้ที่ติดต่อมาผิดหมายเลข ให้ค้นหาหมายเลขที่ถูกต้อง
และไม่ควรปล่อยให้ผู้โทรมาคอยนาน
พร้อมกับพูดด้วยเสียงที่นุ่มนวลสุภาพ ชัดเจน เช่น “สวัสดีครับ ที่นี่
กอง.....วท.กห. ผม ยศ ชื่อ
รับสาย จะเรียนสายกับใครครับ กรุณาถือสายรอสักครู่ครับ มีข้อความจะฝากไว้
หรือไม่ครับ สวัสดีครับ(ไม่ควรใช่คำว่า "สักครู่" ห้วน ๆ โดยไม่มีหางเสียง)
34. การนำชิ้นส่วนของเครื่องแบบไปประกอบการแต่งกายพลเรือน ให้ห้ามโดยเด็ดขาด
เพราะมิฉะนั้นผู้ที่มิได้เป็นทหารอาจนำไปทำเรื่องไม่ดีแก่ทหาร
35. ไม่ควรถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่เหมาะสมก่อนในขณะที่ถูกซักถาม
ควรให้ผู้บังคับบัญชาพูด ความประสงค์ให้จบก่อน เช่นใช้คำพูด “ว่า”
หรือใช้คำสมัยใหม่ตามสมัยนิยมสวนกลับก่อนคำถามจะจบ
36. หากสวมใส่ชุดกีฬาก็สามารถแสดงความเคารพได้ และสมควรนำชายเสื้อสวมใส่ในกางเกงเล่นกีฬาให้เรียบร้อย
37. การรายงานหรือแจ้งเหตุใด ๆ ให้เป็นไปตามสายการบังคับบัญชาไม่ควรข้ามขั้นตอน ไม่เช่นนั้นจะถือได้ว่ามิได้ให้เกียรติกัน
38. ไม่ควรพักผ่อนในบริเวณกรมที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เพราะบุคคลภายนอก หรือผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นเข้าจะไม่น่านิยม หรือยกย่อง
39. ห้าม
ใส่รองเท้าแตะขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการแต่อนุโลมให้ใส่ได้เฉพาะที่โต๊ะของ
ตนเองเท่านั้นห้ามใส่ออกมานอกโต๊ะโดยเด็ดขาด แม้แต่ภายในแผนกงาน
หรือกองงานของตนเอง เนื่องจากเป็นการไม่เรียบร้อยเหมาะสม ไม่เคารพต่อ
สถานที่ราชการเป็นภาพที่ไม่ดีในสายตาของผู้บังคับบัญชา
และบุคคลภายภายนอกที่มาติดต่อราชการได้ (หากทำได้จึงไม่ควรสวมใส่จะดีกว่า
เพราะอาจเผลอสวมใส่ออกมาภายนอกโต๊ะตนเองได้)
40. ในวันเวลา
ราชการปกติ สมควรกำกับดูแลบุตรหลานไม่ให้เล่น
หรือวิ่งเล่นส่งเสียงดังในเขตบริเวณกรม
เพราะจะสร้างความรำคาญกับบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงาน
และอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันได้
ที่สำคัญเป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบ
และการขาดการอบรมสั่งสอนที่ดี
41. ควรแนะนำให้บุตรหลาน
หรือสามีภรรยา ให้รู้จักมารยาทในการเคารพผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่า เช่น พี่
ป้า น้า อา ลุงที่ทำงานในกรมด้วย เมื่อจำเป็นต้องเข้ามาในกรม
เพราะจะเป็นสิ่งที่แสดงการอบรมสั่งสอนของตน และยังเป็นสร้างความเอ็นดู
และความมีเสน่ห์ให้กับตนเองอีกด้วย
42. เมื่อจำเป็นต้องเข้ามาใน
กรม
ในเวลาราชการโดยที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตามปกติ สมควรต้องแต่งกายให้สุภาพสวม
ใส่รองเท้าให้เหมาะสม (เว้นรองเท้าแตะ)
เพราะเป็นมารยาทที่ต้องให้เกรียติกับสถานที่ราชการในทุกแห่ง
ที่มา: มารยาททางทหาร
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment